การค้นพบชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ของ Exoplanet

18-07-2018 อ่าน 3,813

25 ปีหลังจากการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรก การหาดาวเคราะห์นอกระบบดวงใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักดาราศาสตร์ เนื่องจากในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 3,400 ดวง และคาดว่าจะมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากภายหลังจากจากส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TESS (Transiting Exoplanet Survey Satellite) ในวันที่ 20 มีนาคม 2561 กล้องโทรทรรศน์อวกาศ CHEOPS (CHaracterising ExOPlanets Satellite) ในปลายปี 2561 และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ PLATO (Planetary Transits and Oscillations of stars) ในปี 2569

จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบที่เพิ่มขึ้นนั้นช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจถึงคุณสมบัติ การกำเนิด และวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่ได้ตอบคำถามที่ว่า “มีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนอกจากโลกหรือไม่?” ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงมีความพยายามที่จะศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ ชั้นบรรยากาศเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งวิธีการหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบคือเทคนิค Transmission spectroscopy ซึ่งการศึกษาการผ่านหน้าของดาวเคราะห์นอกระบบในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ

เมื่อดาวเคราะห์นอกระบบมีการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ แสงดาวฤกษ์จะมีการลดลง เช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคาที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ โดยขนาดการลดลงของแสงดาวฤกษ์นั้นขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างรัศมีกำลังสองของดาวเคราะห์ต่อรัศมีกำลังสองของดาวฤกษ์ กล่าวคือถ้าดาวเคราะห์มีขนาดเล็กจะทำให้เกิดการลดลงของแสงน้อยกว่าดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากอัตราส่วนพื้นที่ของดาวฤกษ์ที่ถูกดาวเคราะห์บังมีขนาดน้อยกว่า

ถ้าดาวเคราะห์มีชั้นบรรยากาศ ธาตุหรือโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของเคราะห์นั้นจะมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงบางช่วงความยาวคลื่น ซึ่งถ้าเราทำการศึกษากราฟแสงการผ่านหน้าของดาวเคราะห์ในช่วงความยาวคลื่นที่มีการดูดกลืนแสง เราจะสามารถสังเกตเห็นว่าดาวเคราะห์มีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงความยาวคลื่นดังกล่าว จากการที่แสงในช่วงความยาวคลื่นดังกล่าวมีการลดลงในช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ผ่านหน้ามากกว่าช่วงความยาวคลื่นอื่น

รูปที่ 1 : ภาพจำลองการดูดกลืนแสงของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ (a) แสดงชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่ประกอบด้วยเมฆซึ่งจะทำให้แสงของดาวฤกษ์ไม่สามารถส่องผ่านได้ ทำให้สเปคตรัมที่สังเกตได้ไม่มีการดูดกลืนแสงบางความคลื่นดังเช่น (b) ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่ไม่มีมฆ ซึ่งจำให้ธาตุหรือโมเลกุลในชั้นบรรยากาศมีการดูดกลืนแสงบางความยาวคลื่น [Image credit: Kempton, E.M.R., 2014, Nature, 513, 493]

ดาวเคราะห์ WASP-121b เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ WASP-121 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 900 ปีแสง WASP-121b เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์ “hot Jupiter” เนื่องจากดาวเคราะห์ WASP-121b มีมวลและรัศมีใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี (มวล 1.2 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี และรัศมี 1.9 เท่าของรัศมีดาวพฤหัสบดี) แต่ดาวเคราะห์ WASP-121b มีคาบการโคจรรอบดาวฤกษ์ WASP-121 ที่สั้นเพียง 1.3 วัน (ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 12 ปี) ทำให้มีการคาดการว่าชั้นบรรยากาศชั้นบนของดาวเคราะห์ WASP-121b จะมีอุณหภูมิถึง 2,500 องศาเซลเซียล

จากการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 กลุ่มนักดาราศาสตร์ นำโดย Thomas Evans จากมหาวิทยาลัย Exeter ประเทศสหราชอาณาจักร ได้ทำการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ WASP-121b ด้วยเทคนิค Transmission spectroscopy ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และได้ค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ในบรรยากาศของของดาวเคราะห์ WASP-121b ซึ่งเป็นการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์นอกระบบเป็นครั้งแรก ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์นั้นเป็นเขตชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศมีการเพิ่มขึ้นตามความสูงจากพื้นผิวที่สูงขึ้น

รูปที่ 2 : ภาพจำลองชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของโลก แสดงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นที่ความสูงที่สูงขึ้น [Image credit:Randy Russell, UCAR]

โดยการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ได้ถูกค้นพบจากการเปล่งแสงในช่วงความยาวคลื่นของโมเลกุลของน้ำในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์ WASP-121b เนื่องจากอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้น ความร้อนทำอิเล็คตรอนของโมเลกุลของน้ำขึ้นไปอยู่ในระดับชั้นพลังงานที่สูงขึ้น และเมื่ออิเล็คตรอนมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาจะทำให้เกิดการเปล่งออกมา สำหรับโมเลกุลของน้ำนั้นจะมีการเปล่งแสงในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรด

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ถูกค้นพบในดาวเคราะห์ในระบบสุริยะหลายดวง เช่น โลก ดาวพฤหัสบดี หรือไททันซึ่งเป็นดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวเสาร์ แต่สำหรับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์จะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงประมาณ 50 องศาเซลเซียล แต่สำหรับดาวเคราะห์ WASP-121b ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงถึง 500 องศาเซลเซียล โดยนักดาราศาสตร์ยังคงไม่ทราบถึงธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์ WASP-121b แต่คาดว่าอาจเป็นโมเลกุลของ วานาเดียมออกไซด์ (VO) หรือไททาเนียมออกไซด์ (TiO) โดยการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ WASP-121b ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บปในอนาคตจะทำให้เราทราบถึงองค์ประกอบชั้นบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์ดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น

รูปที่ 3 : ภาพจำลองระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP-121 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์ WASP-121b [Image credit: Engine House VFX, At-Bristol Science Centre, University of Exeter]

Attaining PMP certification can be an essential step towards furthering your project management career, but many aspirants to the PMP exam face concerns regarding its cost. Costs vary based on factors like membership eligibility, exam preparation costs and retake fees - yet investing in earning it will pay dividends later on! Understanding all these expenses helps budget for and plan the exam journey successfully.
click here to know more about PMP dumps 2023
Earning your PMP certification is a key element to building a rewarding project management career, yet many individuals may hesitate due to its cost. Exam expenses typically include membership fees, exam fees and study materials (which will depend on where and how often you take exams), with total costs depending on location and personal choices. Although expenses associated with taking the exam can be significant, getting certified often opens doors for increased career opportunities and higher salaries in your profession; so consider it as an investment into future success!
know more about PMP dumps 2023 here  

อ้างอิง

 

เรียบเรียงโดย ดร. นายศุภชัย อาวิพันธุ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)