ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2014 (25 ข้อ)

1. รถเลี้ยวขวาด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นวงกลม ให้ X เป็นเวกเตอร์โมเมนตัมเชิงมุมรอบศูนย์กลางของวงกลม และ Y เป็นเวกเตอร์ความเร่งของรถ จากมุมมองของคนขับข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
A X ไปทางซ้าย และ Y ไปทางซ้าย
B X ไปข้างหน้า และ Y ไปทางขวา
C X พุ่งลง และ Y ไปข้างหน้า
D X ไปทางซ้าย และ Y ไปทางขวา
E X พุ่งลง และ Y ไปทางขวา
ตอบ (E)

ใช้กฎมือขวาในการหาโมเมนตัมเชิงมุม โดยความเร่งมีทิศพุ่งเข้าจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่แบบวงกลม
2. ลูกบอลกลิ้งลงมาจากพื้นเอียงโดยไม่ไถล ดังรูป
เวกเตอร์ในข้อใด แสดงทิศทางของแรงสุทธิที่ลูกบอลกระทำกับพื้นเอียงได้ถูกต้อง
A
B
C
D
E
ตอบ (E)

ข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อที่มีแรงกระทำทั้งในทิศตั้งฉาก และขนานกับพื้นเอียง สังเกตว่า ถ้าลูกบอลกลิ้งลงมาโดยมีความเร่ง แล้วแรงเสียดทานจะต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงในทิศขนานกับพื้นเอียง
 
3. วัตถุที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ มีส่วนที่ลอยพ้นน้ำอยู่ 20% ของวัตถุ ถ้าออกแรงกดที่ด้านบนของวัตถุ 3 N จะทำให้วัตถุจมทั้งชิ้น แล้ววัตถุมีปริมาตรเท่าใด ให้ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ ρน้ำ = 1000 kg/m3
A Vวัตถุ = 0.3 ลิตร
B Vวัตถุ = 0.67 ลิตร
C Vวัตถุ = 1.2 ลิตร
D Vวัตถุ = 1.5 ลิตร
E Vวัตถุ = 3.0 ลิตร
ตอบ (D)

วัตถุที่จมลงไปในน้ำจะต้องมีแรงต้านมากระทำกับแรงลอยตัวที่เพิ่มขึ้น 0.2 ρน้ำ Vg 
ดังนั้น Vวัตถุ = 1.5 ลิตร
4. จากข้อความที่กำหนด จงหาจำนวนชิ้นส่วน N1 , N2 และ N3 ให้ถูกต้อง ให้สมมุติว่าไม่มีแรงภายนอกมากระทำ และ ในกรณีที่ไม่สามารถสรุปจำนวนชิ้นส่วนได้ให้ใช้ N = 1
    • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N1 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) โดยที่ทราบมวลของแต่ละชิ้นและทราบพลังงานจลน์รวม 
    แล้วเราจะสามารถหาพลังงานจลน์ของแต่ละชิ้นได้
    • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N2 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) ความเร็วของวัตถุแต่ละชิ้นจะต้องอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน 
    • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N3 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) ความเร็วของวัตถุแต่ละชิ้นจะต้องอยู่บนระนาบ
A N1 = 2, N2 = 1, N3 = 1
B N1 = 1, N2 = 2, N3 = 3
C N1 = 2, N2 = 2, N3 = 3
D N1 = 3, N2 = 2, N3 = 3
E N1 = 2, N2 = 3, N3 = 4
ตอบ (C)

จากโจทย์จะได้ว่า
N1 = 2
เพราะ จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เมื่อเรารู้พลังงานจลน์รวม เราก็สามารถหาพลังงานของแต่ละก้อนได้ (2 สมการ 2 ตัวแปร)
N2 = 2 
เพราะ ถ้ามากกว่านี้แล้ว ความเร็วของวัตถุแต่ละชิ้นไม่จำเป็นต้องอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
N3 = 3
ลองวาดเวกเตอร์ 2 อันก่อน การเพิ่มอันที่ 3 เข้าไปแล้วทำให้ผลรวมเป็นศูนย์นั้น เวกเตอร์ที่ 3 ต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน (หากมี 4 เวกเตอร์แล้ว ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระนาบเดียวกันก็รวมเป็นศูนย์ได้)
5. ขี่จักรยานตามรางที่เป็นวงกลมรัศมี 30 m ด้วยอัตราเร็วคงที่ 10 m / s (เร็วมาก!) แล้วขนาดของมุมในการเข้าโค้งของผู้ขี่จักรยานเทียบกับแนวตั้ง ที่ไม่ทำให้จักรยานล้มเท่ากับข้อใด สมมุติว่า ความสูงของคนขี่จักรยานเตี้ยกว่าความยาวรัศมีของราง
A 9.46°
B 9.59°
C 18.4°
D 19.5°
E 70.5°
ตอบ (C)

แรงที่พุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง เท่ากับ mv2/r และแรงที่พุ่งไปที่พื้น เท่ากับ mg โดยแรงที่พุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางมาจากแรงเสียดทานและแรงจากจุดที่กระทำกับพื้น ส่วนแรงตั้งฉากเท่ากับแรงโน้มถ่วงและแรงจากจุดที่กระทำกับพื้น ดังนั้น การหาขนาดของมุมจะหาจาก tan θ โดย
\(\rm \tan \theta = \dfrac{{{v^2}}}{{gr}}\)
6. ลูกบาศก์มวล 10 kg แต่ละด้านยาว 5 m สามารถขยับไปตามพื้นราบได้อย่างอิสระโดยไม่มีแรงเสียดทาน ภายในลูกบาศก์มีกล่องเล็กๆ มวล 2 kg ซึ่งเคลื่อนที่ภายในลูกบาศก์ โดยไม่มีแรงเสียดทาน ที่เวลา t = 0 ถ้ากล่องเล็กๆ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 m / s ไปยังด้านหนึ่งของกล่อง โดยลูกบาศก์ยังคงหยุดนิ่ง และสัมประสิทธิ์การกระแทกสำหรับการชนกันระหว่างลูกบาศก์กับกล่องเท่ากับ 90% หมายความว่าอัตราเร็วสัมพัทธ์ระหว่างลูกบาศก์กับกล่อง หลังการชนจะเท่ากับ 90% ของอัตราเร็วสัมพัทธ์ระหว่างลูกบาศก์กับกล่อง ก่อนการชน
แล้วระยะทางที่กล่องจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิม หลังผ่านไป 1 นาทีเท่ากับข้อใด
A 0 m
B 50 m
C 100 m
D 200 m
E 300 m
ตอบ (B)

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ พิจารณาจากการเคลื่อนที่ที่จุดศูนย์กลางมวลของระบบ โดยใช้กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม จะได้อัตราเร็วเท่ากับ
\({{\rm{v}}_{{\rm{cm}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{\rm{(2kg)(5m/s)}}}}{{{\rm{(2kg) + (10kg)}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{\rm{5}}}{{\rm{6}}}{\rm{m/s}}\)
หลังผ่านไปหนึ่งนาที จุดศูนย์กลางมวลจะเคลื่อนที่ไปได้ \(\rm \left( {\dfrac{{\rm{5}}}{{\rm{6}}}{\rm{m/s}}} \right)(60s) = 50m\)
เนื่องจาก จุดศูนย์กลางมวลอยู่ภายในกล่องลูกบาศก์ ดังนั้น ตำแหน่งของกล่องเล็กจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปราวๆ 50 m เช่นกัน (คำตอบอื่นอยู่ภายนอกกล่องลูกบาศก์)
7. คานยาว 1.00 m มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ มีจุดหมุนห่างจากปลายคาน 30 cm ถ้าคานเกิดสมดุลเมื่อวางวัตถุมวล 50.0 g ให้ห่างจากปลายคาน 20 cm (อ้างอิงปลายเดิม) แล้วคานมีมวลเท่าไร
A 35.7 g
B 33.3 g
C 25.0 g
D 17.5 g
E 14.3 g
ตอบ (C)

ใช้หลักโมเมนต์ของแรง
8. นำวัตถุมวล M ไปแขวนกับสปริงที่มีค่านิจสปริง k และปล่อยให้แขวนลงมาในแนวตั้ง โดยคาบของการสั่นเท่ากับ T0 ถ้าตัดสปริงให้เหลือครึ่งเดียวแต่ยังใช้มวลเท่าเดิม แล้วนำไปวางบนพื้นลื่นที่เอียง θ กับแนวนอน แล้วคาบของการสั่นบนพื้นเอียงในเทอมของ T0 เท่ากับข้อใด
A \(\rm T_0\)
B \(\rm T_0/2\)
C \(\rm 2T_0\sin θ\)
D \(\rm T_0/\sqrt2\)
E \(\rm T_0\sin θ / \sqrt2\)
ตอบ (D)

ค่านิจสปริงจะแปรผกผันกับความยาวตามธรรมชาติของสปริง จากโจทย์ เมื่อตัดสปริงให้เหลือครึ่งเดียว แล้วค่านิจสปริงก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนการนำสปริงไปวางบนพื้นเอียงแม้ว่าจะทำให้ตำแหน่งสมดุลของมวลเปลี่ยนไป แต่จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อคาบของการสั่นของสปริง ดังนั้น คาบของการสั่นใหม่จะเท่ากับ
\({\rm{T = 2}}\pi \sqrt {\dfrac{{\rm{m}}}{{{\rm{2k}}}}} {\rm{ = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\sqrt {\rm{2}} }}{\rm{2}}\pi \sqrt {\dfrac{{\rm{m}}}{{\rm{k}}}} {\rm{ = }}\dfrac{{{{\rm{T}}_{\rm{0}}}}}{{\sqrt {\rm{2}} }}\)
9. กำหนด กราฟแรงที่กระทำกับวัตถุหนัก 5.00 ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังรูป
ถ้าความเร็วที่ t = 0.0 s คือ +1.0 m / s แล้วความเร็วของวัตถุที่ t = 7 s คือข้อใด
A 2.45 m/s
B 2.50 m/s
C 3.50 m/s
D 12.5 m/s
E 15.0 m/s
ตอบ (C)

จากพื้นที่ใต้กราฟเท่ากับโมเมนตัมที่เปลี่ยนไป จะได้ว่า
\(\Delta {\rm{p = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{(3~s)(3~N) + }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{(4 ~s)(3~N + 1~N) = 12/5 ~N}} \cdot {\rm{s}}\)
แสดงว่าจะมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้นมาอีก \(\rm \Delta v{\rm{ = 2}}{\rm{.5~ m/s}}\)
ดังนั้น ความเร็วของวัตถุที่ t = 7 s คือ 1.0 + 2.5 = 3.5 m/s
10. รถบังคับวิทยุถูกผูกติดกับเสาด้วยเชือกยาว 3.00 m และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลม ด้วยความเร็วเชิงมุมเริ่มต้น 1.00 rad / s และเร่งความเร็วต่อเนื่องด้วยอัตรา 4.00 rad / s2 ถ้าเชือกขาดเมื่อความเร่งสู่ศูนย์กลางเกิน 2.43×102 m / s2 แล้วเราสามารถเร่งความเร็วรถได้นานแค่ไหนก่อนเชือกขาด
A 0.25 s
B 0.50 s
C 1.00 s
D 1.50 s
E 2.00 s
ตอบ (E)

เชือกจะขาดเมื่อ ac มีค่าสูงกว่าแรงตึงสูงสุด นั่นคือ
\({{\rm{a}}_{\rm{c}}}{\rm{ = r}}{{\rm{\omega }}^{\rm{2}}}{\rm{ = r}}{\left( {\frac{1}{2}\alpha {{\rm{t}}^{\rm{2}}}{\rm{ + \omega }}_0^2} \right)^2}\)
จัดให้อยู่ในรูปของ t
\({\rm{t = }}\sqrt {\dfrac{2}{\alpha }\left( {\sqrt {\dfrac{{{{\rm{a}}_{\rm{c}}}}}{{\rm{r}}} - {{\rm{\omega }}_0}} } \right)} {\rm{ }}\)
ดังนั้น t = 2s
11. มวล m ติดสปริงในอุดมคติ ถูกนำไปวางในแนวนอนบนพื้นลื่น จากนั้นดึงมวลเล็กน้อย แล้วปล่อยออก ข้อใดแสดงกราฟพลังงานจลน์กับฟังก์ชันของพลังงานศักย์ได้ถูกต้องที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (E)

เนื่องจากพลังงานจะถูกอนุรักษ์ไว้ ดังนั้น ผลรวมจะต้องเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่ง 
ดังนั้น กราฟจะต้องเป็นเส้นตรงที่ลาดลงมา และมีความชันคงที่
12. เฮลิคอปเตอร์กระดาษ มีรัศมีใบพัด r มีน้ำหนัก W ถูกปล่อยที่ความสูง h  กลางอากาศที่มีความหนาแน่น ρ
สมมุติว่า เฮลิคอปเตอร์ไปถึงความเร็วสุดท้ายด้วยเวลาอันสั้น แล้วฟังก์ชันสำหรับเวลาบิน T สามารถหาได้จาก 
\(\rm T = kh^α r^βρ^δ W^ω\)
โดยที่ k เป็นค่าคงที่ที่ไม่มีมิติ (ค่าแท้จริงคือ 1.164) α, β, δ, และ ω เป็นค่าคงตัวของเลขชี้กำลังที่ต้องหา
แล้วค่า α เท่ากับข้อใด
A α = -1
B α = -1/2
C α = 0
D α = 1/2
E α = 1
ตอบ (E)

เมื่อเฮลิคอปเตอร์ไปถึงความเร็วสุดท้าย มันก็จะตกลงมาด้วยอัตราเร็วคงที่ ตาม h = vT โดย v เป็นความเร็วปลาย ในกรณีนี้ α = 1
13. เฮลิคอปเตอร์กระดาษ มีรัศมีใบพัด r มีน้ำหนัก W ถูกปล่อยที่ความสูง h  กลางอากาศที่มีความหนาแน่น ρ สมมุติว่า เฮลิคอปเตอร์ไปถึง
ความเร็วสุดท้ายด้วยเวลาอันสั้น แล้วฟังก์ชันสำหรับเวลาบิน T สามารถหาได้จาก 
\(\rm T = kh^α r^βρ^δ W^ω\)
โดยที่ k เป็นค่าคงที่ที่ไม่มีมิติ (ค่าแท้จริงคือ 1.164) α, β, δ, และ ω เป็นค่าคงตัวของเลขชี้กำลังที่ต้องหา
แล้วค่า β เท่ากับข้อใด
A β = 1/3
B β = 1/2
C β = 2/3
D β = 1
E ข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการหาค่า β
ตอบ (D)

เมื่อเฮลิคอปเตอร์ไปถึงความเร็วสุดท้าย มันก็จะตกลงมาด้วยอัตราเร็วคงที่ ตาม h = vT โดย v เป็นความเร็วปลาย ในกรณีนี้ α = 1
จากนั้นใช้การวิเคราะห์มิติกับมวลที่เราสนใจ
สังเกตว่า δ = – ω มีเฉพาะ W ที่เป็นหน่วยของเวลา (ส่วนกลับของกำลังสอง) โดย ω = –1/2 แต่ \(\rm \sqrt {\rho /W}\) มีหน่วยเป็นความยาว–2เวลา–1 และเรารู้ว่า α = 1 ดังนั้น β = 1
 
14. (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) แผ่นกลมมวล M มีโมเมนต์ความเฉื่อย I รัศมี R มีเชือกพันรอบแผ่นกลมไว้ 
ดังรูป แผ่นกลมกลิ้งอย่างอิสระไปตามทิศทางที่แสดงดังรูป มีแรงคงที่ T กระทำที่ปลายเชือก และทำให้แผ่นกลมมีความเร่งบนพื้นลื่น
หลังจากแผ่นกลมมีความเร่งจากระยะทางหนึ่งแล้ว อัตราส่วนของ KE ในการเลื่อนที่กับ KE สุทธิของแผ่นกลม KEการเลื่อนที่ / KEสุทธิ เท่ากับข้อใด
A \(\rm \dfrac{I}{{M{R^2}}}\)
B \(\rm \dfrac{{M{R^2}}}{I}\)
C \(\rm \dfrac{I}{{3M{R^2}}}\)
D \(\rm \dfrac{I}{{M{R^2} + I}}\)
E \(\rm \dfrac{{M{R^2}}}{{M{R^2} + I}}\)
ตอบ (D)

แรง T จะทำให้เกิดความเร่งที่จุดศูนย์กลางมวลของแผ่นกลมในอัตรา a = T / M และทำให้เกิดทอร์กบนแผ่นกลมที่จุดศูนย์กลางมวลตาม τ = RT ดังนั้น ความเร่งเชิงมุม α จะเท่ากับ RT / I 
หลังผ่านไป t ความเร็วของแผ่นกลมจะเท่ากับ v = at และความเร็วเชิงมุมจะเท่ากับ ω = αt จะได้
KEการเลื่อนที่\(\dfrac{1}{2}{\rm{M}}{\left( {\dfrac{{\rm{T}}}{{\rm{M}}}} \right)^2}{{\rm{t}}^2}\)
และ
KEการหมุน\(\dfrac{1}{2}{\rm{I}}{\left( {\dfrac{{{\rm{RT}}}}{{\rm{I}}}} \right)^2}{{\rm{t}}^2}\)
เมื่อหาอัตราส่วนของทั้งสองจะได้
KEการเลื่อนที่ / KEสุทธิ
\(\begin{align*} &= \frac{{\frac{1}{2}{\rm{M}}{{\left( {\frac{{\rm{T}}}{{\rm{M}}}} \right)}^2}{{\rm{t}}^2}}}{{\frac{1}{2}{\rm{M}}{{\left( {\frac{{\rm{T}}}{{\rm{M}}}} \right)}^2}{{\rm{t}}^2} + \frac{1}{2}{\rm{I}}{{\left( {\frac{{{\rm{RT}}}}{{\rm{I}}}} \right)}^2}{{\rm{t}}^2}}}\\ &= \frac{{\frac{1}{{\rm{M}}}}}{{\frac{1}{{\rm{M}}} + \frac{{{{\rm{R}}^{\rm{2}}}}}{{\rm{I}}}}}\\ &= \frac{{\rm{I}}}{{{\rm{M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ + I}}}} \end{align*}\)
15. ให้ทอร์กสูงสุดที่ออกมาจากเครื่องยนต์ของรถทดลองมวล m คือ τ อัตราเร็วเชิงมุมสูงสุดของเครื่องยนต์คือ ω เครื่องยนต์มีกำลังที่ออกมาคงที่ P และเครื่องยนต์เชื่อมต่อกับล้ออย่างไม่มีการสูญเสียพลังงาน ถ้าล้อมีรัศมี R และสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานสถิตระหว่างล้อกับถนนคือ μ แล้วอัตราเร็วสูงสุดที่รถสามารถวิ่งบนพื้นเอียง 30 องศา ได้เท่ากับข้อใด สมมุติว่า ไม่มีการสูญเสียจากแรงเสียดทาน และ μ มีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้ยางไม่ไถลขณะวิ่ง
 
A \(\rm v = 2P/(mg)\)
B \(\rm v = 2P/(\sqrt3mg)\)
C \(\rm v = 2P/( μmg)\)
D \(\rm v = τω /(mg)\)
E \(\rm v = τω /( μmg)\)
ตอบ (A)

จากหลักพื้นฐาน P = Fv เมื่อ F แรงของน้ำหนักที่ขนานกับพื้นเอียง จะได้
\(\rm v = P/mg sin θ\)
โจทย์ให้ θ = 30°
ดังนั้น v = 2P/(mg)
16. วัตถุมวล m1 เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v0 ชนกับวัตถุมวล m2 = αm1 โดย α < 1 จากเดิมหยุดนิ่ง การชนนี้อาจยืดหยุ่นสมบูรณ์ ไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ หรือ ไม่ยืดหยุ่นบางส่วนก็ได้ หลังการชนวัตถุทั้งสองเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v1 และ v2 สมมุติว่า การชนเกิดขึ้นในหนึ่งมิติและวัตถุแรกไม่สามารถพุ่งผ่านวัตถุสองได้ หลังการชน อัตราส่วนอัตราเร็ว r1 = v1 / v0 ของวัตถุแรกจะอยู่ในช่วงใด
 
A (1 – α) / (1 + α)  ≤  r1  ≤  1
B (1 – α) / (1 + α)  ≤  r1  ≤  1 / (1 + α)
C α / (1 + α)  ≤  r1  ≤ 1
D 0  ≤  r1  ≤ 2α / (1 + α)
E 1 / (1 + α)  ≤  r1  ≤  2 / (1 + α)
ตอบ (B)

จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมและพลังงานจลน์ในการชนแบบยืดหนุ่ยสมบูรณ์ จะได้
\(\begin{array}{c} {{\rm{r}}_1} = \dfrac{{{{\rm{v}}_{\rm{1}}}}}{{{{\rm{v}}_{\rm{0}}}}} = \dfrac{{1 - {\rm{\alpha }}}}{{1 + {\rm{\alpha }}}}\\ {{\rm{r}}_2} = \dfrac{{{{\rm{v}}_2}}}{{{{\rm{v}}_{\rm{0}}}}} = \dfrac{2}{{1 + {\rm{\alpha }}}} \end{array}\)
เนื่องจาก α < 1 วัตถุ m1 จะมีอิทธิพลมากกว่าวัตถุ m2 ดังนั้น การเคลื่อนที่จะยังคงไปข้างหน้า 
จากกฏการอนุรักษ์โมเมนตัม ในกรณีที่การชนนั้นไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ จะได้ว่า
\({{\rm{r}}_{\rm{1}}}{\rm{ = }}{{\rm{r}}_{\rm{2}}} = \dfrac{1}{{1 + {\rm{\alpha }}}}\)
จากที่วัตถุ m2 เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเสมอ และวัตถุ m1 ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุ m2 ได้ ดังนั้น วัตถุ m2 จะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เป็นบวกมากกว่า (หรือเท่ากับ) วัตถุ m1 
ดังนั้น
\(1/(1 + {\rm{\alpha }}) \le {{\rm{r}}_2} \le 2/(1 + {\rm{\alpha }})\)
การหาช่วงคำตอบของ วัตถุ m1 อาจจะยากกว่าเล็กน้อย เพราะสถานการณ์นี้อาจจะมีการกระดอนกลับเกิดขึ้น แต่ในกรณีนี้ α < 1 ทำให้ความเร็วหลังการชนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จึงได้ว่า
\((1 - {\rm{\alpha }})/(1 + {\rm{\alpha }}) \le {{\rm{r}}_1} \le 1/(1 + {\rm{\alpha }})\)
17. เมฆละอองฝุ่นทรงกลมในอวกาศ มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ρ0 มีรัศมี R0 และมีความเร่งโน้มถ่วงที่ผิวเมฆเป็น g0 ถ้าการเกิดก้อนเมฆ (การขยายตัวเนื่องจากความร้อน) ทำให้รัศมีของเมฆเป็น 2R0 และละอองฝุ่นยังคงกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ แล้วความเร่งโน้มถ่วงปัจจุบันที่ระยะ R0 จากศูนย์กลางของก้อนเมฆ เท่ากับข้อใด
A g0 / 32
B g0 / 16
C g0 / 8
D g0 / 4
E g0 / 2
ตอบ (C)

จากกฎของนิวตัน แรงโน้มถ่วงสำหรับวัตถุที่เป็นทรงกลมจะขึ้นกับมวลที่อยู่ภายในระยะจากศูนย์กลางมวลถึงตำแหน่งที่วัดเท่านั้น
\({\rm{g = }}\dfrac{{{\rm{GM}}}}{{{{\rm{r}}^{\rm{2}}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{\rm{4\pi }}}}{{\rm{3}}}{\rm{G\rho r}}\)
ซึ่งค่าสุดท้ายนั้นจะเป็นจริง เมื่อความหนาแน่นนั้นสม่ำเสมอ
ในทางกลับกันความหนาแน่นจะลดขนาดลง 1/8
18. พิจารณกล่องและเครื่องชั่งสองอัน ดังรูป ให้เครื่องชั่ง A รับน้ำหนักกล่องผ่านเชือกเบา ภายในกล่องมีรอกแขวนลงมาจากด้านบน และมีเชือกเบาอีกเส้นคล้องผ่านรอก ให้ปลายด้านหนึ่งยึดกับพื้นกล่อง และปลายอีกด้านหนึ่งผูกกับเครื่องชั่ง B ความตึงในเส้นเชือกที่อ่านจากเครื่องชั่งทั้งสองคือ TA และ TB ให้เดิมเครื่องชั่ง A อ่านได้ 30 นิวตัน และเครื่องชั่ง B อ่านได้ 20 นิวตัน
ถ้าเพิ่มแรงดึงบนเครื่องชั่ง B จนอ่านค่าได้ 30 นิวตัน แล้วเครื่องชั่ง A จะอ่านค่าได้เท่าใด
( ดัดแปลงมาจากการสาธิตของ Richard Berg )
A 35 นิวตัน
B 40 นิวตัน
C 45 นิวตัน
D 50 นิวตัน
E 60 นิวตัน
ตอบ (B)

จากกล่องใบดังกล่าว สิ่งที่เราควรทราบคือ เมื่อเครื่องชั่ง B ถูกดึงด้วยแรง 10 นิวตัน แล้วเครื่องชั่ง A ก็จะถูกแรงดึงด้วยแรง 10 นิวตัน เพื่อให้ระบบเกิดสมดุล
ดังนั้น เครื่องชั่ง A จะอ่านค่าได้ 40 นิวตัน
19. เฮลิคอปเตอร์บินตามแนวนอนด้วยอัตราเร็วคงที่ มีสายเคเบิลที่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ตลอดเส้นผูกติดไว้ที่ใต้เฮลิคอปเตอร์ และมีแรงต้านอากาศกระทำกับสายเคเบิลอยู่พอสมควร แล้วข้อใดแสดงลักษณะของสายเคเบิลขณะที่เฮลิคอปเตอร์บินไปทางขวาได้ถูกต้องที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (B)

เมื่อมีแรงต้านอากาศกระทำกับสายเคเบิล ก็จะเกิดแรงที่กระทำในแนวนอนกับสายเคเบิลที่ผูกติดอยู่ใต้เฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากแรงต้านอากาศแปรผันตามความยาวของสายเคเบิลที่ห้อยลงมาที่จุดใดก็ได้ ดังนั้น สายเคเบิลจะเอียงเป็นเส้นทแยงมุมตามข้อ (B) 
(หากมีมวลแขวนอยู่ที่ปลายสายเคเบิลจะตอบข้อ (D))
20. (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่มีรูปร่างคล้ายล้อรถ มีรัศมี R โครงสร้างทั้งหมดมีมวล M อยู่ที่ส่วนขอบ เมื่อนักบินอวกาศมาถึงสถานี สถานีจะหมุนในอัตราที่ทำให้วัตถุที่ขอบของสถานีมีความเร่งสู่ศูนย์กลางเป็น g ให้ใกล้เคียงกับแรงโน้มถ่วงของโลก โดยสภาวะนั้นต้องพึ่งจรวดเล็กสองลำ แต่ละลำมีแรงดัน T นิวตัน ให้ติดตั้งบนขอบของสถานี แล้วจรวดต้องใช้เวลาเดินเครื่อง t เท่าใด จึงจะทำให้เกิดสภาวะที่ต้องการ
(ดัดแปลงมาจาก Physics for Scientists and Engineers โดย Richard Wolfson)
A \(\rm t = \sqrt{gR^3} M / (2T)\)
B \(\rm t = \sqrt{gR} M / (2T)\)
C \(\rm t = \sqrt{gR} M / T\)
D \(\rm t = \sqrt{gR/\pi} M / T\)
E \(\rm t = \sqrt{gR} M / (\pi T)\)
ตอบ (B)

ความเร่งที่เราต้องการ คือ
\({\rm{g = }}{{\rm{\omega }}^{\rm{2}}}{\rm{R}} \to {\rm{\omega = }}\sqrt {{\rm{g/R}}}\)
แรงที่จรวดสองลำ เท่ากับ
\({\rm{2TR = M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{\alpha }} \to {\rm{\alpha = 2T/MR}}\)
ดังนั้น เวลาที่ใช้เท่ากับ
\({\rm{t = \omega /\alpha = }}\frac{{\sqrt {{\rm{gR}}} {\rm{M}}}}{{{\rm{2T}}}}\)
21. (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) ให้รอกสองอัน ทำจากโลหะชนิดเดียวกันมีความหนาแน่น ρ (แสดงดังรูป) รอก A เป็นแบบแผ่นกลมสม่ำเสมอมีรัศมี R รอก B เป็นแบบวงแหวน ส่วนที่กลวงมีรัศมี R/2 นำกล่องสองใบมวล M = αm (α > 1) แขวนกับรอกผ่านเชือกเบา และหมุนโดยไม่ไถล แล้วอัตราส่วนความเร่งในระบบ A กับ B เท่ากับข้อใด ถ้ามวลของรอก A เท่ากับ M + m
A aA / aB = 47 / 48
B aA / aB = 31 / 32
C aA / aB = 15 / 16
D aA / aB = 9 / 6
E aA / aB = 3 / 4
ตอบ (A)

โจทย์ข้อนี้ เป็นโจทย์ปัญหาความสมดุลของแรงในเครื่องกลทั่วไป 
สำหรับมวล M จะมีค่าตามสมการ
\({\rm{Ma = Mg}} - {{\rm{T}}_{\rm{M}}}\)
โดย TM คือ แรงตึงเชือกที่แขวนมวล M
สำหรับมวล m จะมีค่าตามสมการ
\({\rm{ma = }}{{\rm{T}}_{\rm{M}}} - {\rm{mg}}\)
สำหรับรอก จะมีค่าตามสมการ
\({\rm{I\alpha = R (}}{{\rm{T}}_{\rm{M}}} - {{\rm{t}}_{\rm{m}}}{\rm{)}}\)
โดย α = a / R และ I คือ โมเมนต์ความเฉื่อย
เมื่อรวมสมการจะได้
\({\rm{Ia/}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ = (Mg }} - {\rm{Ma)}} - {\rm{(ma + mg)}}\)
หรือ
\({\rm{a = g}}\dfrac{{{\rm{M}} - {\rm{m}}}}{{{\rm{I/}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ + M + m}}}}\)
ให้โมเมนต์ความเฉื่อยของรอกทั้งสองอัน คือ I = β (M + m) R2 แล้วอัตราส่วนความเร่งจะเท่ากับ
\(\dfrac{{{{\rm{a}}_{\rm{A}}}}}{{{{\rm{a}}_{\rm{B}}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{{\rm{\beta }}_{\rm{B}}}{\rm{ + 1}}}}{{{{\rm{\beta }}_{\rm{A}}}{\rm{ + 1}}}}\)
โดย βA = 1/2 เพราะเป็นแผ่นกลมสม่ำเสมอ
และ βB = 1/2(1 – (1/4)(1/4)) = 15/32 เพราะรอกเป็นวงแหวนจึงต้องลบส่วนที่กลวงออกไป
ดังนั้น อัตราส่วนความเร่งจะเท่ากับ \(\dfrac{{{{\rm{a}}_{\rm{A}}}}}{{{{\rm{a}}_{\rm{B}}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{47}}{{48}}\)
22. ดาวเคราะห์มวล M และ m << M อยู่ในวงโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวล ภายใต้แรงดึงดูดซึ่งกันและกัน และดาวทั้งสองอยู่ห่างกัน R ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวทั้งสองดวง 
ถ้าชิ้นส่วนเล็ก ๆ ขนาด δm << m จากดาวมวล m ถูกดูดไปยังดาวมวล M โดยการถ่ายโอนนี้เกิดขึ้นในขณะที่วงโคจรของดาวทั้งสองยังเป็นวงกลม และยังคงห่างกัน R แล้วข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
 
A แรงดึงดูดระหว่างดาวทั้งสองจะเพิ่มขึ้น
B แรงดึงดูดระหว่างดาวทั้งสองจะยังคงที่
C โมเมนตัมเชิงมุมสุทธิของระบบจะเพิ่มขึ้น
D โมเมนตัมเชิงมุมสุทธิของระบบจะยังคงที่
E คาบของวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งสองจะยังคงเป็นค่าคงที่
ตอบ (E)

แรงระหว่างดาวเคราะห์ทั้งสองดวง คือ
\({\rm{F = G}}\dfrac{{{\rm{Mm}}}}{{{{\rm{R}}^{\rm{2}}}}}\)
แรงใหม่ F´ จะเท่ากับ
\(\begin{align*} \rm{F'} &= \rm G\frac{{{\rm{(M + }}\delta {\rm{m)(m}}--\delta {\rm{m)}}}}{{{{\rm{r}}^{\rm{2}}}}}\\ &= \rm G\frac{{{\rm{Mm}}--{\rm{(M}}--{\rm{m)}}\delta {\rm{m}}--{{(\delta {\rm{m}})}^2}}}{{{{\rm{R}}^{\rm{2}}}}} \end{align*}\)
เราสามารถประมาณกับสมการแรกได้
\({\rm{F' = }}\left( {{\rm{1}}-\dfrac{{\delta {\rm{m}}}}{{\rm{m}}}} \right){\rm{F}}\)
การเคลื่อนที่สู่ศูนย์กลางจะเท่ากับ
\(\rm mv^2/r = F\)
โดย r คือระยะทางจาก m ถึงจุดศูนย์กลางมวล โดย
\({\rm{r = }}\dfrac{{\rm{M}}}{{{\rm{M + m}}}}{\rm{R}}\)
เมื่อแสดงในเทอมของโมเมนตัมเชิงมุม จะได้
\({{\rm{L}}_{\rm{m}}}{\rm{ = mvr = }}\sqrt {{\rm{m(m}}{{\rm{v}}^{\rm{2}}}{\rm{/r)}}{{\rm{r}}^{\rm{3}}}} {\rm{ = }}\sqrt {{\rm{m}}{{\rm{r}}^{\rm{3}}}{\rm{F}}} \)
หรือ
\({{\rm{L}}_{\rm{m}}}{\rm{ = }}\sqrt {\dfrac{{{\rm{m}}{{\rm{M}}^{\rm{3}}}{\rm{RGmM}}}}{{{{{\rm{(m + M)}}}^{\rm{3}}}}}} = {\rm{m}}{{\rm{M}}^{\rm{2}}}\sqrt {\dfrac{{{\rm{GR}}}}{{{{{\rm{(m + M)}}}^{\rm{3}}}}}} \)
จากความสมมาตร จะได้
\({{\rm{L}}_{\rm{M}}}{\rm{ = }}{{\rm{m}}^{\rm{2}}}{\rm{M}}\sqrt {\dfrac{{{\rm{GR}}}}{{{{{\rm{(m + M)}}}^{\rm{3}}}}}}\)
ดังนั้น ผลรวมเท่ากับ
\({\rm{L = }}{{\rm{L}}_{\rm{m}}}{\rm{ + }}{{\rm{L}}_{\rm{M}}}{\rm{ = mM}}\sqrt {\dfrac{{{\rm{GR}}}}{{{\rm{m + M}}}}}\)
จะเห็นว่า Mm จะลดลง เมื่อ δm ถูกถ่ายจาก m ไปสู่ M แสดงว่ามีทอร์กจากภายนอกมากระทำ
ขั้นตอนสุดท้าย หาคาบของการเคลื่อนที่จากสมการ v = 2πr / T จะได้
\({\rm{T = }}\dfrac{{{\rm{2\pi r}}}}{{\rm{v}}}{\rm{ = 2\pi }}\sqrt {\dfrac{{{\rm{mr}}}}{{\rm{F}}}}\)
เมื่อรวมกับสมการด้านบน จะได้
\({\rm{T = 2\pi }}\sqrt {\dfrac{{{\rm{mMR}}}}{{{\rm{m + M}}}}\dfrac{{{{\rm{R}}^{\rm{2}}}}}{{{\rm{GmM}}}}} = {\rm{2\pi }}\sqrt {\dfrac{{{{\rm{R}}^{\rm{3}}}}}{{{\rm{G(m + M)}}}}}\)
จะเห็นว่าค่าที่ได้เป็นค่าคงที่
ดังนั้น ข้อ (E) คือ คำตอบที่ถูกต้อง (นักเรียนสามารถใช้กฎของเคปเลอร์ตอบได้เลยเช่นกัน)
23. นักบินอวกาศมวล 100 kg พกปืนที่บรรจุกระสุนขนาดใหญ่ไว้ 10 kg ตัวปืนและชุดนักบินมีมวลน้อยมาก เมื่อเหนี่ยวไกกระสุนจะพุ่งออกด้วยอัตราเร็วสัมพัทธ์ 50 m/s เทียบกับนักบิน
แล้วขณะเหนี่ยวไก นักบินอวกาศจะได้รับแรงดลจากปืนเท่าใด
A 455 Ns
B 500 Ns
C 550 Ns
D 5000 Ns
E 5500 Ns
ตอบ (A)

พิจารณาที่จุดศูนย์กลางมวล เนื่องจากกระสุนมีมวลมากเมื่อเทียบกับนักบิน จึงต้องคิดด้วยความระมัดระวัง
เนื่องจากแรงดลที่ส่งออกมาคือ โมเมนตัมสุดท้ายของนักบิน 
ให้นักบินมีมวล m1 มีความเร็วสุดท้ายเป็น v1 และตัวปืนมีมวล m2 มีความเร็วสุดท้ายเป็น v2 
จากกฎการอนุรักษ์โมเมนตั้มจะได้
\(\rm m_1v_1 + m_2v_2 = 0\)
และความเร็วสัมพัทธ์เท่ากับ ( สมมุติให้ v1 > 0 )
\(\rm v_r = v_1 – v_2\)
นำไปแทนค่าจะได้
\(\begin{align*} {{\rm{m}}_{\rm{1}}}{{\rm{v}}_{\rm{1}}}{\rm{ + }}{{\rm{m}}_{\rm{2}}}{\rm{(}}{{\rm{v}}_{\rm{1}}}-{{\rm{v}}_{\rm{r}}}) &= 0\\ {{\rm{m}}_{\rm{1}}}{{\rm{v}}_{\rm{1}}} &= \frac{{{{\rm{m}}_{\rm{1}}}{{\rm{m}}_{\rm{2}}}}}{{{{\rm{m}}_{\rm{1}}} + {{\rm{m}}_{\rm{2}}}}}{{\rm{v}}_{\rm{r}}} \end{align*}\)
ดังนั้น J = m1v1 = 455 Ns
24. นักบินอวกาศมวล 100 kg พกปืนที่บรรจุกระสุนขนาดใหญ่ไว้ 10 kg ตัวปืนและชุดนักบินมีมวลน้อยมาก เมื่อเหนี่ยวไกกระสุนจะพุ่งออกด้วยอัตราเร็วสัมพัทธ์ 50 m/s เทียบกับนักบิน
หากก่อนหน้านี้นักบินอวกาศมาด้วยความเร็ว 10 m/s (วัดในกรอบอ้างอิงหนึ่ง) แล้วเขาต้องการยิงปืน เพื่อให้ความเร็วของเขาเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นมุมที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับทิศเดิม (วัดในกรอบอ้างอิงเดียวกัน) แล้วขนาดของมุมที่มากที่สุดเท่ากับข้อใด (คำแนะนำ: ลองวาดภาพประกอบดู)
 
A 24.4°
B 26.6°
C 27.0°
D 30.0°
E 180.0°
ตอบ (C)

โมเมนตัมสุดท้ายของนักบินจะเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมเริ่มต้นกับแรงดลที่กระทำกับนักบิน 
โดยโมเมนตัมเริ่มต้นของนักบินเท่ากับ
\(\rm P_i = (100 ~kg)(10 ~m/s) = 1000 ~kg\cdot m/s\)
และแรงดลที่เกิดขึ้นจะเป็นค่าค่าหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าแรงดลที่นักบินอวกาศได้รับจากปืน (455 Ns) (สังเกตว่า แรงดลจะเท่ากับทุกแรงเฉื่อยในกรอบอ้างอิงต่างๆ) และโมเมนตัมสุดท้ายของนักบินจะถูกจำกัดอยู่ภายในวงกลมด้านล่าง
θ จะมากที่สุด เมื่อเวกเตอร์ \(\overrightarrow {{{\rm{p}}_{\rm{f}}}}\) สัมผัสกับวงกลม
ดังนั้น ค่า θ มากสุดเท่ากับ
\({\rm{\theta = arcsin}}\dfrac{{\rm{J}}}{{{{\rm{p}}_{\rm{i}}}}}{\rm{ = 27}}{\rm{.}}{{\rm{0}}^ \circ }\)
25. ปล่อยกล่องมวล m จากหยุดนิ่ง ให้ลงมาตามทางลาดโดยไม่มีแรงเสียดทาน ที่ความสูง h1 จากฐานของทางลาด เมื่อเลื่อนมาถึงฐานทางลาดแรกมันจะเลื่อนขึ้นทางลาดที่สอง โดยสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของกล่องกับทางลาดที่สองเท่ากับ μk ถ้าทั้งสองทางลาดทำมุม θ กับแนวนอน แล้วความสูง h2 ที่วัดจากฐานของทางลาดที่สองที่ทำให้กล่องขึ้นไปได้ เท่ากับข้อใด
A h2 = (h1 sinθ) / (μk cosθ + sinθ)
B h2 = (h1 sinθ) / (μk + sinθ)
C h2 = (h1 sinθ) / (μk cos2 θ + sinθ)
D h2 = (h1 sinθ) / (μk cos2 θ + sin2 θ)
E h2 = (h1 cosθ) / (μk sinθ + cosθ)
ตอบ (A)

ใช้หลักการของงานและพลังงาน